📣 กลับมาอีกครั้งกับรายการ AMD OC Challenge Season 2 🔥
‼️ ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 20,000 บาท พร้อมด้วยโล่รางวัลสุด Exclusive จาก AMD 🔥
💡 รายการที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้เพียงแค่มี CPU AMD Processor เพราะ CPU AMD นั้นสามารถโอเวอร์คล็อคได้ทุกรุ่น 😎
👀 เก็บคะแนนของคุณเอาไว้ให้ดีๆ ‼️
🔴 ส่งคะแนนพร้อมกัน ใน Live วันที่ 25 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 13:00 น.
💰 ของรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศตามลำดับ 💸
อันดับที่ 1 ➡️ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมด้วยโล่สุด Exclusive จาก AMD 1 รางวัล
อันดับที่ 2 ➡️ เงินรางวัล 5,000บาท พร้อมด้วยโล่สุด Exclusive จาก AMD 1 รางวัล
อันดับที่ 3 ➡️ เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมด้วยโล่สุด Exclusive จาก AMD 1 รางวัล
อันดับที่ 4-5 ➡️ เงินรางวัล 1,000 บาท
⛔️กติกาในการเข้าร่วมและแข่งขันในรายการ AMD OC Challenge Season 2⛔️
▶️ เราจะวัดจาก Base Clock ของ User ที่เข้าร่วมกิจกรรม AMD OC Challenge ที่ใช้ ยกตัวอย่าง AMD RYZEN 9 5950X Base clock อยู่ที่ 3.6 GHz ตามที่หน้าเว็บ AMD ระบุไว้ และ ให้ User Overclock ให้ได้ "GHz" สูงที่สุด และ เทสใน CPU-Z เท่านั้น โดยเราจะนำค่า Base clock "ลบ" กับ ค่าที่ User Overclcok "GHz" ที่ได้เช่น
User A : ใช้ AMD Ryzen 9 5950X Base Clock อยู่ที่ 3.6GHz แต่ User A สามารถ Overclock ได้ที่ 5.0GHz = 1.4 นี่คือ คะแนนของ User ◀️
▶️ไม่จำกัดรุ่น CPU (AMD Phenom , Athlon , FX , A-Series , Ryzen 1000 - 5000 Series )✅
▶️ ส่งผลเทสด้วยการ test กับโปรแกรม CPU-Z Version 1.95 ขึ้นไปเท่านั้น ✅
▶️อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการแข่งขัน จะขึ้นอยู่กับ User แต่ละท่านเอง✅
▶️ไม่จำกัดชุดระบายความร้อน จะเป็น LCS , Fan Cooling , Liquid Cooling ก็ได้ แล้วแต่ User สะดวก✅
▶️ไม่จำกัด Windows OS เช่น Windows Xp , Windows 7 หรือ Windows 10✅
▶️จะกดเทสกี่ครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้ผลเทสที่ดีที่สุด✅
▶️ในกรณีที่คะแนนเท่ากัน จะนับจาก User ที่ส่งผลคะแนนเร็วที่สุดเป็นหลัก✅
🎮วิธีส่งผลคะแนน
- เมื่อ Benchmark เสร็จแล้ว ให้กด Submit and Compare
-นำ Link มาแปะ ในคอมเม้นท์ (โพสที่จะให้แปะรูปจะโพสในวันที่ไลฟ์ *25/02/64* )
🚫ข้อห้าม
-ห้ามใช้ Liquid Nitrogen , Liquid Helium , DIY Ice และ อุปกรณ์อื่นๆที่ไม่ใช่ Home Use
📚สอนการ Overclock จากรายการ AMD Classroom โดยอาจารย์นพจาก Extreme IT 🥸
Link : https://fb.watch/2kiLxUMILe/
⚠️ข้อควรระวัง
***การ Overclock มีความเสี่ยง User ควรศึกษาข้อมูลก่อน ทางบริษัทไม่รับผิดชอบในกรณีเกิดความเสียหาย
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過3萬的網紅Hiddie T,也在其Youtube影片中提到,同之前的video不同,今次除咗get ready with me之外仲會陪我出埋街。睇完記得Like同Subscribe!Thankyou so much for watching and Love you all~~ xoxo 如果你想我的影片有更多人看到的話可捐獻字幕啊,萬分感激~xx ...
liquid helium 在 Rowling Chen My World 陳若菻的小小世界 Facebook 的最佳貼文
官網:www.shang-haur.com
旭豪真空科技有限公司Shang Haur Vacuum Technology Co., Ltd.成立於1980年,累積近30年的真空專業技術為客戶提供最優質的服務與真空技術諮詢。主要產品:#歐美、#日本、#韓國 等 #世界 #名廠在 #臺灣 及 #大陸 的總代理,項目包括離心幫浦,離心泵浦,真空幫浦,#真空泵浦、#鼓風機、#壓縮機、#真空錶、#化工乾式真空泵浦、#光學離子源、#膜厚計、#真空閥門、#管件 等 #工業 必需品、離子及真空鍍膜機、鍍膜設備整廠輸出、粉粒體輸送設備、真空 #系統 等,廣泛使用 #半導體、#薄膜蒸鍍濺鍍、#電子業、#醫療醫院、#食品業、#化工業、 #光學工業、 #熱處理、#鍍膜等各種工業。#代理 歐洲、美國、日本、韓國等知名品牌真空幫浦,如英國BOC Edwards(愛德華真空)、義大利P.V.R、義大利pompetravaini、美國Agilent Vacuum(瓦裏安真空)、美國Stokes Vacuum、瑞典PIAB、韓國Woosung、法國ALCATEL(阿爾卡特真空)、德國Oerlikon(來寶真空) 德國MANN+HUMMEL(曼牌過濾器)、日本ORION(奧立安)、日本ULVAC(優貝克)、日本島津SHIMADZU 等品牌代理。 產品包括:油迴轉式真空幫浦(Rotary Piston Vacuum Pump)、兩段式高真空幫浦(Two Stages High Vacuum Pump)、乾式真空幫浦(Dry Claw/Screw Vacuum Pump)、渦卷式乾式真空幫浦(Scroll Dry Vacuum Pump)、活塞式真空幫浦(Piston Vacuum Pump)、水封式真空幫浦(Liquid Ring Vacuum Pump)、耐酸鹼化工型真空幫浦(Chemical Dry Vacuum Pump)、螺旋乾式真空幫浦(SCREW DRY VACUUM PUMP) 渦輪幫浦(Turbo Pump)、離心泵(Centrifugal Pump)、擴散泵浦(Diffusion Pump)、魯式助力幫浦(Roots Pump/Booster/High Vacuum Blower)、大型排氣真空系統(Center Vacuum System)、鼓風機(Blower)、粉粒真空輸送機(Vacuum Conveyor)、真空烘箱(Vacuum Oven)、真空鍍膜機(Vacuum Coater)、真空錶(Vacuum Gauge)、真空閥門(Vacuum Value)、真空油脂膏(Vacuum Grease)、氦氣測漏儀 (HELIUM LEAK DETECTOR), #真空手套箱( #VACUUMGLOVBOX )等產品可供客戶洽詢選購。
旭豪真空科技有限公司Shang Haur Vacuum Technology Co., Ltd., 為客戶提供堅實的維修團隊,確保每部幫浦或設備的正常運作,也提供他牌的維修與零件,如日本 #osaka #vacuum,日本iwata, #德國 #BUSCH,德國 #BECKER,德國Rietschle WERIE,日本Sinko,等,我們提供維修的足跡遍及 #世界 #各國, 遠至 #伊朗, #南非等, #希望 #我們 #的 #用心 #與 #努力,為 #客戶 #解決 #使用 #操作 #上 #的 #問題.
客戶有關真空應用或使用上的問題,我們都樂意盡心的為客戶提供技術上的諮詢.
營業性質:出口,進口,製造,批發,OEM/ODM,服務
主要產品:歐、美、日、韓等世界名廠在台灣及大陸的總代理,項目包括離心幫浦,離心泵浦,真空幫浦,
成立年度(西元):1980
主要貿易地區:台灣,中國大陸
主要競爭優勢:品質優良,交貨迅速,接受獨特設計或LOGO,適用於促銷品或禮贈品,多樣設
liquid helium 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳解答
สถานะอันแปลกประหลาดของสสารถูกผลิตขึ้นในอวกาศเป็นครั้งแรก
ทีมนักวิจัยได้ประสบผลสำเร็จในการสร้างสถานะของสสารที่เรียกว่า "Bose-Einstein Condensate (BEC)" ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงภายในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้เป็นครั้งแรก[1][2][3]
แต่ก่อนที่เราจะพูดถึง Bose-Einstein Condensate นั้น มาดูกันก่อนว่าสถานะของสสารคืออะไรกันแน่
- สถานะของสสาร
สถานะของสสารที่เราคุ้นเคยกันนั้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "classical state" ประกอบขึ้นด้วยของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และพลาสมา แต่เดิมนั้นสถานะของสสารนั้นถูกนิยามโดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของสสารในแต่ละสถานะ เช่น ของแข็งนั้นจะสามารถคงรูปทรงเอาไว้ได้ ในขณะที่ของเหลวนั้นจะมีปริมาตรคงที่ แต่เปลี่ยนรูปร่างไปตามภาชนะ ส่วนก๊าซนั้นจะเปลี่ยนได้ทั้งรูปร่างและปริมาตร ในขณะที่พลาสมานั้นมีลักษณะคล้ายก๊าซที่แตกตัวเป็นไอออน มีทั้งประจุบวกและประจุลบแยกออกจากกัน
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงกรณีของ "classical state" เพียงเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วการแบ่งแยกสถานะนั้นซับซ้อนกว่านั้นได้อีกมาก เช่น ในขณะที่ของแข็งนั้นจะต้องมีการเรียงตัวกันของอะตอมอย่างเป็นรูปแบบและซ้ำกัน เราจะพบว่าในแก้วและกระจกที่เราใช้กันนั้น ไม่มีการเรียงตัวกันอย่างเป็นรูปแบบ และการเรียงตัวของอะตอมในแก้วนั้นใกล้เคียงกับของเหลวเสียมากกว่า แต่ก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เราจึงจัดแก้วเป็นสถานีอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า "amorphous solid" และยังมี liquid crystal ที่แสดงคุณสมบัติอยู่ระหว่างของแข็งและของเหลว ที่ทำให้เกิดภาพในจอ LCD (Liquid Crystal Display) ที่เราทุกคนกำลังจ้องอ่านตัวหนังสือกันอยู่ใน ณ ตอนนี้
นอกไปจากนี้เรายังสามารถพบสถานะที่พิศดารของสสารได้อีกมากในสภาพแวดล้อมที่สุดขั้วมากๆ เช่น superfluid ที่มีความหนืดเป็นศูนย์และสามารถไหลออกจากภาชนะโดยการปีนไต่ไปตามขอบแก้วได้ หรือ degenerate matter บนดาวแคระขาวและดาวนิวตรอน ที่ถูกคงสภาพเอาไว้ได้โดยเพียงแรงกีดกันทางควอนตัมเพียงเท่านั้น
ในหมู่สถานะอันพิศดารเหล่านี้ สถานะหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษามาเสมอ ก็คือ "Bose-Einstein Condensate (BEC)" ซึ่งบางสื่ออาจจะเรียกว่าเป็น "สถานะที่ 5" ของสสาร[1][2] แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นสถานะของสสารเรียกได้ไม่จบไม่สิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะอิงตามนิยามใด
- Bose-Einstein Condensate(BEC)
ไอเดียของ BEC นั้นถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1924 โดยนักฟิสิกส์ชาวอินเดีย Satyendra Nath Bose และ Albert Einstein จึงเป็นที่มาของชื่อ Bose-Einstein Condensate โดยหลักการก็คือหากเรามีอนุภาคชนิดเดียวกันที่มี spin เป็นเลขจำนวนเต็ม เช่น โฟตอน หรืออะตอมของธาตุที่มีจำนวนนิวตรอนและโปรตอนเท่ากัน เช่น Helium-4 อนุภาคเหล่านี้จะจัดอยู่ในอนุภาค Boson ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะสามารถถือ quantum state เดียวกันได้
ซึ่งหากเราทำให้ "bose gas" เหล่านี้เย็นตัวลงมากๆ เสียจนอนุภาคส่วนมากจะต้องตกลงไปใน quantum state ที่มีพลังงานต่ำที่สุด เราจะพบว่าอนุภาคส่วนมากของกลุ่ม bose gas เหล่านี้นั้น จะเกิดการ "ควบแน่น" ไปอยู่ที่ quantum state เดียวกัน เกิดขึ้นมาเป็นสถานะใหม่ของสสาร
ในกลศาสตร์ควอนตัมนั้น อนุภาคทุกชนิดประกอบขึ้นจาก wavefunction ที่กำหนด quantum state ของมัน และการรบกวนและแทรกแซงกันระหว่าง wavefunction เหล่านี้นี่เอง ที่ทำให้อนุภาคมีอันตรกิริยาระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ในปรกติแล้วนั้น wavefunction เหล่านี้นั้นจะมีขนาดเล็กเกินกว่าอะตอมแต่ละอะตอม และไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถสังเกตได้โดยง่าย แต่เมื่อใดก็ตามที่อะตอมของสสารมาอยู่ในรูปของ BEC แล้ว wavefunction ของทุกอะตอมใน BEC จะรวมตัวกันมาอยู่ด้วยกัน ทำให้ปรากฏการณ์ระดับจุลภาคทางควอนตัม สามารถสังเกตเห็นได้ในระดับมหัพภาค ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราสามารถศึกษาปรากฏการณ์ทางควอนตัมได้ดียิ่งขึ้นแล้ว เรายังเชื่อว่า BEC ยังมีความสัมพันธ์และสามารถนำเราไปสู่การเข้าใจในสสารมืดและพลังงานมืดได้ดีขึ้นอีกด้วย
- ห้องทดลองที่เย็นที่สุดในเอกภพ
การจะสร้าง BEC ได้นั้น เราจะต้องใช้อุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์ในระดับนาโนเคลวิน ซึ่งเนื่องจากว่าเอกภพนั้นมีอุณหภูมิ 2.7K หรือสูงกว่าอุณหภูมิที่เราต้องการหลายล้านเท่า ทำให้การศึกษา BEC กลายเป็นการสร้างห้องทดลองของสสารที่เย็นที่สุดในเอกภพไปโดยปริยาย
ในปี 1995 Eric Cornell และ Carl Wieman ได้ผลิต BEC เป็นครั้งแรกในห้องทดลองโดยแก๊สของอะตอมรูบิเดียมที่เย็นลงถึง 170 นาโนเคลวิน ต่อมาอีกไม่นาน Wolfgang Ketterle ก็สามารถสร้าง BEC จากอะตอมของโซเดียมได้สำเร็จ ทำให้ทั้งสามคนนี้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ไปในปี 2001 ความสำเร็จของนักฟิสิกส์เหล่านี้ทำให้ทุกวันนี้เรามีห้องวิจัยมากมายที่กำลังศึกษา BEC อยู่เป็นจำนวนมากทั่วโลก
เราสามารถทำอุณหภูมิที่เย็นขนาดนั้นได้อย่างไร? เชื่อหรือไม่ว่า วิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการสร้างอุณหภูมิที่เย็นขนาดนั้น ก็คือการใช้... แสงเลเซอร์???
เนื่องจาก "อุณหภูมิ" นั้นขึ้นอยู่กับระดับการสั่นสะเทือนของอะตอมในสสาร (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "อุณหภูมิคืออะไร?" สามารถดูคำอธิบายเพิ่มเติมได้ในวีดีโอที่เคยแปะเอาไว้แล้ว[5]) อะตอมของสสารทั่วไปนั้นมีการสั่นอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และการทำให้สสารเย็นลงใกล้เคียงกับศูนย์องศาสัมบูรณ์นั้น จึงทำได้โดยการหยุดการสั่นของอะตอมภายในสสาร
เราสามารถหยุดการสั่นของอะตอมเหล่านี้ได้ผ่านการใช้แสงเลเซอร์ แสงเลเซอร์นี้จะไป "ผลัก" อะตอมไปในทิศทางตรงกันข้ามและหยุดการเคลื่อนไหวของมันได้ หากเราใช้แสงเลเซอร์ยิงจากรอบๆ ด้านหกตัว ก็จะทำให้เราสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของอะตอมได้ในหกทิศทาง และเมื่อเราสามารถหยุดความเคลื่อนไหวของอะตอมของโบซอนเป็นจำนวนมากให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน wavefunction ของโบซอนเหล่านั้นก็จะ "ควบแน่น" รวมมาอยู่ในสถานะเดียวกัน กลายเป็น Bose-Einstein Condensate นั่นเอง
- ครั้งแรกในอวกาศ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในทุกวันนี้เราจะมีห้องทดลองเป็นจำนวนมากบนพื้นโลกที่กำลังศึกษา BEC อยู่ แต่สถานะของ BEC นั้นเป็นสถานะที่ละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก และจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็วในระดับหนึ่งในพันวินาที (millisecond) ซึ่งต้นเหตุใหญ่ๆ นั้นก็มาจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่คอยดึง BEC ที่ลอยเคว้งอยู่ให้ตกลงสู่เบื้องล่าง ทำให้การศึกษา BEC นั้นทำได้ยากด้วยระยะเวลาอันจำกัด
ที่ผ่านมาเคยมีการพยายามย้ายห้องทดลองนี้เอาไว้ในสภาพจำลองสภาวะไร้น้ำหนัก เช่น บนเครื่องบินที่กำลังตกลง แต่ก็เป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก ในที่สุดทางออกสุดท้ายก็คือการส่งห้องทดลองเหล่านี้ไปไว้ในอวกาศ
Cold Atom Laboratory (CAL) เป็นส่วนห้องทดลองที่ถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อปี 2018 โดยออกแบบมาให้สามารถผลิต BEC จากอะตอมของรูบิเดียม ด้วยระยะเวลาที่นานกว่าบนโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาวะไร้น้ำหนักบนสถานีอวกาศนานาชาติ
และในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยก็ได้ยืนยันว่าสถานีอวกาศนานาชาติได้สามารถสร้าง BEC ขึ้นมาเป็นครั้งแรกภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก และสามารถคงรักษาสถานะของ BEC ได้นานถึงหนึ่งวินาที[6]
ซึ่งความเข้าใจที่เราจะได้จากการศึกษา BEC ภายใต้สภาวะเช่นนี้ นำไปสู่ความเป็นไปได้ที่หลากหลาย ตั้งแต่การทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป การค้นหาพลังงานมืด คลื่นความโน้มถ่วง จนไปถึงการนำทางในอวกาศ และการค้นหาแร่ธาตุบนดวงจันทร์และวัตถุอื่นในอวกาศ
ภาพ: ISS
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.bbc.com/thai/features-53029764
[2] https://phys.org/news/2020-06-quantum-state-space.html
[3] https://coldatomlab.jpl.nasa.gov/
[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Bose%E2%80%93Einstein_condensate
[5] https://www.youtube.com/watch?v=2p_V8NI2HSA
[6] https://www.nature.com/articles/s41586-020-2346-1
liquid helium 在 Hiddie T Youtube 的最佳貼文
同之前的video不同,今次除咗get ready with me之外仲會陪我出埋街。睇完記得Like同Subscribe!Thankyou so much for watching and Love you all~~ xoxo
如果你想我的影片有更多人看到的話可捐獻字幕啊,萬分感激~xx
♥ Follow me ♥
Instagram: @hiddie http://www.instagram.com/hiddie/
SnapChat: @hiddietse
Facebook: http://facebook.com/hiddietmakeup
Blogspot: http://hiddietmakeup.blogspot.com/
Weibo: http://weibo.com/hiddie
Products used:
MAC Prep + Prime Fix+
IT Cosmetics CC Cream - Light
Charlotte Tilbury Air-brush Flawless Finish Skin-Perfecting Micro-Powder - 1 Fair
Anastasia Bevely Hills Brow Wiz - Medium Ash
Urban Decay Eyeshadow Primer Potion
Colourpop Cute AF Yes Please Palette
Maybelline Hyper Sharp Eyeliner - Brown
Physicians Formula Butter Bronzer
Jouer Blush Bouquet Dual Palettes - Adore
Hourglass Vanish Flash Highlighting Stick
*MAC Retro Matte Liquid Lipcolour Metallic - Coral Plated
*Thx Neal's Yard Remedies for the facial treatment.
https://www.nealsyardremedies.com.hk/
https://www.facebook.com/NealsYardRemediesHK/
(*sent/gifted by PR)
liquid helium 在 Liquid Helium - an overview | ScienceDirect Topics 的相關結果
Liquid helium is used to produce low temperatures. The inert, nonflammable gas is used in balloons and in scientific studies (e.g., meteorological). It is also ... ... <看更多>
liquid helium 在 Introduction to Liquid Helium - GSFC Cryogenics & Fluids 的相關結果
Liquid helium boils at -268.93 Centigrade (4.2 Kelvin). Helium does not freeze at atmospheric pressure. Only at pressures above 20 times atmospheric will ... ... <看更多>
liquid helium 在 Liquid helium - Wikipedia 的相關結果
Liquid helium is a physical state of helium at very low temperatures at standard atmospheric pressures. Liquid helium may show superfluidity. ... <看更多>